วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557


หลักการและเหตุผล



*เหตุผล:   เพราะฉันเป็นคนจังหวัดพิษณุโลก และอยากจะเผยแพร่ความรู้ ตำนานของวัดนี้ ว่ามีความเป็นมาอย่างไรให้ผู้อื่นได้ทราบ และวัดใหญ่ก็เป็นวัดประจำจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีพระพุทธชินราช ที่งดงาดที่สุดประดิษฐานอยู่ เรื่องข้อมูลและข่าวสารมีแน่นอนค่ะ


*ประโยชน์:  เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวชองจังหวัดพิษณุโลก





เมืองพิษณุโลกนี้มีวัดที่เก่าแก่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะสถาปัตยกรรมอยู่มากมายหลายวัด เช่น วัดราชบูรณะ วัดสำคัญตั้งอยู่ใจกลางเมืองพิษณุโลกบริเวณริมฝั่งแม่น้ำน่าน เยื้องวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) ตรงข้ามกับวัดนางพญา ซึ่งตามประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย รัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท


          





                                         


วัดราชบูรณะ ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ ๑๖/๑๖๙ ถ.บรมไตรโลกนารถ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพิษณุโลก บริเวณริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกเยื้องกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พิษณุโลก ตรงข้ามกับวัดนางพญา มีแม่น้ำน่านไหลผ่านวัดทางด้านทิศตะวันตก และมีถนนพุทธบูชาผ่านด้านข้าง ทิศเหนือมีถนนมิตรภาพตัดผ่านด้านหน้าวัดราชบูรณะจนต้องรื้อย้ายใบเสมามุมพระอุโบสถด้านทิศตะในออกเฉียงเหนือ




          วัดราชบูรณะ อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน ตรงบริเวณสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีอาณาเขตติดกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุและวัดนางพญา




            


วัดราชบูรณะ ไม่ปรากฏหลักฐานงว่า เริ่มสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยใด “วัดราชบูรณะ เป็นวัดเก่าแก่โบราณวัดหนึ่งเข้าใจว่าคงจะมีอายุถึงสมัยสุโขทัยก็เป็นได้ วัดแห่งนี้เดิมมีอาณาเขตติดต่อกับวัดนางพญา ในเดือนเมษายน พ.. ๒๕๐๒ กรมทางหลวงได้ตัดถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก คือ ถนนมิตรภาพ ถนนสายนี้ได้ตัดผ่านเข้าไปในเนื้อที่วัดนางพญาและวัดราชบูรณะ ถนนมิตรภาพได้ตัดเฉียดพระอุโบสถไปอย่างใกล้ชิด จนต้องรื้อย้ายใบเสมามุมพระอุโบสถด้านตะวันออกเฉียงเหนือ




วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือที่เรียกกันว่า "วัดใหญ่ชาวบ้านส่วนใหญ่มักเรียกขานกันว่า วัดใหญ่ หรือวัดพระศรี กันจนติดปาก พระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานในวิหารคือ พระพุทธชินราช ชาวเมืองพิษณุโลกก็นิยมเรียกกันว่า หลวงพ่อใหญ่ วัดใหญ่นับเป็นพระอารามหลวงที่สำคัญของจังหวัด เพราะเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวเมืองและชาวไทยทั้งประเทศ สร้างขึ้นพร้อ มกับการสร้างเมืองเมื่อปี พ.ศ. 1900ตั้งอยู่ที่ ถนนพุทธบูชาริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในฐานะสถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย  




             พระพุทธชินราช ป็นพระพุทธรูปองค์ประธานของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทยในตำนานการสร้างพระพุทธชินราชกล่าวว่า พระพุทธชินราชสร้างในสมัยพระศรีธรรมไตรปิฎก ธาตุของพระพุทธเจ้า คือ ผม ได้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ในการเททองปรากฏว่าหล่อได้สำเร็จเพียงสององค์ ส่วนพระพุทธชินราชทองแล่นไม่ตลอด ต้องทำพิมพ์หล่อใหม่ถึงสามครั้ง ครั้งสุดท้ายพระอินทร์ได้แปลงกายเป็นชีปะขาวมาช่วยเททองหล่อ จึงหล่อได้สำเร็จบริบูรณ์




                                   องค์พระปราง อยู่บริเวณศูนย์กลางของวัด เป็นปูชณียสถานที่เก่าแก่ที่สุดของวัด


วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และประติมากรรมที่งดงามยิ่ง ถือได้ว่าเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองพิษณุโลก




วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย และเป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิม เพราะได้พบหลักฐานศิลาจารึกสุโขทัยมีความว่า พ่อขุนศรีนาวนำถมทรงสร้างพระทันตธาตุสุคนธเจดีย์




                                 


อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวัดใหญ่ ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้าง สันนิษฐานววัดนางพญาน่าจะสร้างในสมัยสุโขทัยตอนปลาย หรือสมัยอยุธยาตอนต้น แต่ชาวพิษณุโลกเค้าเชื่อกันว่า ผู้สร้างวัดนางพญา คือ พระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชมารดาของพระสุพรรณกัลยา จึงได้ชื่อว่า วัดนางพญา


           ของดี ขึ้นชื่อของวัดนี้ คือ “พระนางพญา” เป็นพระเครื่องหนึ่งในกลุ่มพระเบญจภาคี มีความเชื่อกันในเรื่องเมตตา มหานิยม ปัจจุบันหาได้ยากมาก มีก็แต่ที่ได้สร้างจำลองขึ้นภายหลัง มีการพบกรุพระเครื่องครั้งแรกใน พ.ศ. 2444 และครั้งหลังเมื่อ พ.ศ. 2497




วัดนางพญา ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับวัดราชบูรณะ ถัดไปทางทิศตะวันออก มีลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยเดียวกับวัดราชบูรณะ ต่างกันที่วัดนางพญาไม่มีพระอุโบสถมีแต่วิหาร วัดนี้มีชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง เรียกว่า พระนางพญา ซึ่งเล่าลือกันถึงความศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันหาได้ยากมาก มีก็แต่ที่ได้สร้างจำลองขึ้นภายหลัง มีการพบกรุพระเครื่องครั้งแรกใน พ.. 2444 และครั้งหลังเมื่อ พ.. 2497





อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือและเว็บไซต์
มังกร/ทองสุขดี  (๒๕๓๕).  รวมเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเมืองพิษณุโลก. พิมพ์ครั้งที่1.  :พิษณุโลก
          http://student.nu.ac.th/phitsanulok-temple/work/%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2.html


Creative Commons License
วัดที่สำคัญในจังหวัดพิษณุโลก by kannika is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น